พระเครื่อง/เครื่องรางทั่วไป

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย tee_tores, 10 กุมภาพันธ์ 2025.

  1. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    13,043
    ค่าพลัง:
    +53,079
    IMG_5078.jpeg IMG_5080.jpeg IMG_5079.jpeg

    รายการที่ 499

    เหรียญหลวงพ่ออี๋/พระเจ้าตาก/เสด็จในกรม วัดสัตหีบปี2543

    บูชา 400 บาท
     
  2. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    13,043
    ค่าพลัง:
    +53,079
    IMG_5063.jpeg IMG_5064.jpeg

    รายการที่ 500

    เหรียญพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดโพธิ์เก้าต้น ปี2520 หลวงพ่อกวย ร่วมเสก

    บูชา 350 บาท


    หลวงพ่อแพ หลวงพ่อจวน หลวงพ่อบุญมี หลวงพ่อกวย หลวงพ่อจรัญ หลวงพ่อชม และอีกหลายรูป ร่วมปลุกเสก

    พระอาจารย์ธรรมโชติ ศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบางระจัน


    พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมชื่อ โชติ ขณะบวชได้ฉายาทางพระว่า ธรรมโชติรังษี พื้นเพเป็นชาวเมืองสุพรรณ ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บวชเรียนแล้วจำพรรษา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ณ วัดเขาขึ้นหรือเขานางบวช ท่านมีความรู้ด้านวิชากสิณ ด้านวิชาอาคมที่แก่กล้า ด้วยทั้งพรรษาและวิชาต่างๆที่ได้ศึกษาฝึกพร่ำร่ำเรียนมา ใครเห็นล้วนแต่เกิดศรัทธา

    พระอาจารย์ธรรมโชติ ตามประวัติเดิม พำนักอาศัยอยู่ ณ วัดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนาไปพำนักอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี ในปี พ.ศ. 2308 ด้วยเหตุที่พระอาจารย์ธรรมโชติมีวิทยาอาคมสูง และได้ลงวิทยาอาคมกับผ้าประเจียด ตะกรุดพิสมร แจกจ่ายให้กับนักรบค่ายบางระจัน

    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ในหนังสือไทยรบพม่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นได้หายสาบสูญไปหรือจะมรณภาพในเวลาเสียค่ายแก่พม่า หรือหนีรอดไปได้หาปรากฏไม่ แต่ตามความเชื่อและตำนานท้องถิ่นของชาวจังหวัดสุพรรณบุรีเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อค่ายบางระจันมีทีท่าว่าจะแตก ลูกศิษย์ใกล้ชิดพระอาจารย์ธรรมโชติก็ได้นิมนต์ท่านหลบหนีออกจากค่าย โดยที่ท่านไม่ได้เต็มใจ เพราะคิดจะอยู่สู้ด้วยกัน ตายด้วยกัน แต่สุดท้ายท่านก็ขัดศรัทธากิจนิมนต์ของชาวบ้านที่รัก หวงแหน และเชิดชูท่านเสียมิได้ ว่าผ้าเหลืองไม่เหมาะที่จะมาจมกองเลือดจมพื้นพสุธาให้คนต่ำช้าสามานย์เยี่ยง พม่าข้าศึกได้ย่ำยีสุดท้ายลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง (ซึ่งไม่มากนัก เพื่อไม่ให้เป็นการแลดูน่าสงสัยแก่ผู้พบเห็นทั่วไป) ได้พาท่านออกมาจากค่ายบางระจัน ชั่วครู่ก่อนค่ายจะแตก แล้วลี้ภัยข้าศึกอยู่ในป่าเขาลำนำไพรจวบจนสงครามสงบจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดเขานางบวช

    บ้างก็ว่าหลังจากออกจากค่ายบางระจันมา ท่านก็ไม่ไปหลบอยู่ที่ไหน แต่ขอกลับมาอยู่วัดเขานางบวช วัดเดิมที่ท่านเคยจำพรรษาอยู่ โดยลูกศิษย์ทำช่องลับไว้ให้ท่านหลบอยู่บริเวณวิหารของท่าน (ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่) ไว้ให้ท่านนั่งเจริญสมาธิกรรมฐาน บำเพ็ญกุศล บำเพ็ญเพียรโปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ วิญญาณวีรชน และชาวบ้านบางระจัน

    หนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ได้กล่าวถึงเหตุผลที่ทำให้เครื่องรางของขลังที่พระอาจารย์ธรรมโชติได้มอบให้ แล้วเสื่อมพลานุภาพลงไว้ ดังนี้

    “ครั้นถึง ณ วันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ อัฐศก พม่าก็ยกเข้าตีค่ายใหญ่บ้านบางระจันแตก ฆ่าคนเสียเป็นอันมากที่จับเป็นไปได้นั้นก็มาก บรรดาครอบครัวชายหญิงเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเหลือตายอยู่นั้นให้กวาดเอาไปสิ้น แล้วเลิกทัพกลับไปยังค่ายพม่า

    ตั้งแต่รบกันมาห้าเดือนจนเสียค่ายนั้น ไทยตายประมาณพันเศษ พม่าตายประมาณสามพันเศษ และพระอาจารย์ธรรมโชตินั้นกระทำสายสิญจน์มงคลประเจียดตะกรุดต่าง ๆ แจกให้คนทั้งปวง แต่แรกนั้น มีคุณอยู่คงแคล้วคลาดคุ้มอันตรายอาวุธได้ขลังอยู่ ภายหลังผู้คนมาอยู่ในค่ายมากสำส่อน ที่นับถือแท้บ้าง ไม่แท้บ้าง ก็เสื่อมตบะเดชะลง ที่อยู่คงบ้าง ที่ต้องอาวุธบาดเจ็บล้มตายบ้าง และตัวพระอาจารย์นั้น ที่ว่าตายอยู่ในค่ายก็มี ที่ว่าหายสูญไปก็มี ความหาลงเป็นแน่ไม่”

    หลวงพ่อจรัญได้ไปธุดงค์แถวปากช่องกับพันเอกชม ได้ไปเจอจารึกที่พระอาจารย์ ธรรมโชติเขียนไว้ในถ้ำว่า
    เหตุที่บางระจันยืนหยัดต่อสู้กับพม่าได้นั้น เพราะมีผู้หญิงอยู่คนนึง ชื่อคุณหญิงปล้องเป็นเมียท่านขุน ในสมัยนั้นที่ถูกพม่าฆ่าตาย ก็เกิดความแค้นที่พม่าฆ่าผัวตัวเองก็ได้รวบรวมเหล่าแม่ม่ายแม่ร้าง ที่หัวอกเดียวกับตัวเองที่พม่าฆ่าตาย ยอมเปลืองตัว ร้องเพลงแซวพม่า(ปัจจุบันคือเพลงอีแซว) พม่าก็จะร้องเห่กลับมา ที่ปัจจุบันเรียกว่าเพลงพม่าเห หรือพม่าเห่ ซึ่งเพลงพวกนี้ก็เกิดในสมัยนั้น
    ได้ทำการเกี้ยวพาราสี มอมเหล้าพม่า เมื่อเมาก็เอามีดปาดคอพม่าตายจนหมด
    จนแม่ทัพใหญ่พม่า เกิดความสงสัยที่ส่งคนไปเท่าไหร่ทำไมถึงตายหมด จนถึงทหารมอญอาสาที่จะปราบบ้านบางระจัน และได้สืบรู้มาว่าเกิดจากฝีมือผู้หญิง
    โดยได้ออกอุบายใช้จุดอ่อนของผู้หญิงให้แตกคอกันเอง เพราะรู้ว่าผู้หญิงขี้ระแวง โดยออกอุบายว่าบอกผู้หญิงที่มีสามี ว่ากำลังมีผู้หญิงแม่ม่ายแม่ร้าง ไปพัวพันสามีตัวเอง
    ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติ ท่านรู้ด้วยด้วยญาณของท่านรู้ว่าถึงชะตาบ้านบางระจันจะแตกคืนนั้น ท่านเลยเรียกชาวบ้านบางระจันที่เป็นลูกศิษย์ท่าน(ถ้าจำไม่ผิด เป็นกลุ่มผู้หญิงที่เหลืออยู่) คนที่มีฝึกสมาธิ แล้วมีพลังจิตสูงท่านก็ให้คาถา บังไพร ไว้ คาถาบังไพร สามารถบังตาศัตรูได้ชั่วคราว หักไม้แล้วศัตรูมองไม่เห็น ก็จะมีชาวบ้านกลุ่ม นี้ ที่หลบหนีออกมาได้ ส่วนตัวอ.ธรรมโชติ เองหายตัว มา ที่ถ้ำที่ดงพญาไฟ
     
  3. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    13,043
    ค่าพลัง:
    +53,079
    IMG_5089.jpeg IMG_5090.jpeg IMG_5091.jpeg IMG_5092.jpeg IMG_5093.jpeg

    รายการที่ 501

    พระรอดชานหมากครูบาชัยวงค์ ฝังพระธาตุข้าวบิณฑ์
    ซองเดิมจากวัด


    เมื่อ พ.ศ.2542 สร้างจากชานหมากที่หลวงปู่เคี้ยว ผสมผงเกสรดอกไม้ ธูปเทียน ที่หลวงปู่ใช้ไหว้พระ ด้านหลังฝังพระธาตุข้าวบิณฑ์ พุทธคุณแคล้วคลาด โชคลาภ เมตตา ครบครัน พระเนื้อชานหมากของหลวงปู่ที่ดังมากๆ คือ พระรอดชานหมาก ว่ากันว่ามีพุทธคุณเทียบเท่ากับพระรอดกรุมหาวันเลยทีเดียว เล่ากันปากต่อปากว่า หลวงปู่ท่านเคยพูดว่าในอดีตชาติท่านคือฤาษีวาสุเทพ ผู้ร่วมสร้างพระรอดลำพูนที่โด่งดัง เลยเชื่อกันว่าใช้พระรอดชานหมากของท่านก็ไม่ต้องไปหาพระรอดของแท้องค์เป็นล้านๆ และมีศิษย์หลายต่อหลายคนเคยได้พระรอดที่หลวงปู่คายออกมาจากปากหลังเคี้ยวหมากด้วยครับพุทธคุณทางด้านเมตตา แคล้วคลาด ชานหมาก หมายถึง การกินดีอยู่ดีเหลือกินเหลือใช้ เมตตามหานิยม

    พระรอด พระเครื่องที่มีพุทธคุณทางเด่นทางด้านเมตตาแคล้วคลาด รอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง รุ่นนี้มีหลายท่านนำไปใช้เเล้วเกิดประสบการณ์ "ประสบอุบัติเหตุรอดตายมาหลายครั้ง" เป็นพระเครื่องที่มากด้วยประสบการณ์ที่ปัจจุบันกายากแล้วครับ

    บูชา 950 บาท
     
  4. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    13,043
    ค่าพลัง:
    +53,079
    IMG_5050.jpeg IMG_5049.jpeg IMG_5101.png

    รายการที่ 502

    หลวงพ่อโต วัดบางกระทิง หลวงพ่อรักษ์ พร้อมตะกรุดจารมือ หายาก

    ประวัติหลวงพ่อรักษ์ วัดน้อยแสงจันทร์ เถราจารย์สังขารอมตะแห่งเมืองสมุทรสงคราม

    พระครูสุธรรมธาดา หรือหลวงพ่อรักษ์ ฐิตธรรมโม อดีตเจ้าอาวาสวัดน้อยแสงจันทร์ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม

    เกจิอาจารย์ผู้ถูกจัดลำดับหนึ่งในร้อยแปดเกจิขลังเมื่อครั้ง ๔๐-๕๐ ปีที่แล้ว ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ ของวัดน้อยแสงจันทร์ ซึ่งถือว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๔๔) ในครั้งนั้นได้มีคหบดี ๔ ราย บริจาคที่ให้สร้างวัด คือ นายน้อย นางแสง นายจันทร์ และนายเหม็น วัดนี้จึงได้รับการตั้งชื่อตามผู้บริจาคที่ดิน เพียงแต่รายที่ ๔ ซึ่งมีนามว่านายเหม็นนั้น เจ้าตัวเห็นว่าชื่ออาจจะไม่เป็นมงคลนัก จึงให้ใช้ชื่อเพียง ๓ รายว่า “น้อยแสงจันทร์” เป็นชื่อวัด


    คนแม่กลองนับถือหลวงพ่อรักษ์ วัดน้อยแสงจันทร์กันมากๆ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณท่าน พระเกจิย่านแม่กลองและมหาชัย ถ้าไม่เก่งจริง คงไม่มีใครเขานับถือกันหรอกครับ ท่านเป็นพระยุคเดียวกับหลวงพ่อสุด วัดกาหลง แต่คนละจังหวัด ครูบาอาจารย์ที่ถือเป็นองค์หลักของท่านเลย คือ หลวงพ่อช้าง วัดเขียนเขต ต.บึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี แต่จะได้เรียนกับหลวงพ่อเปลื้องด้วยหรือไม่นั้นไม่มีหลักฐานยืนยัน นอกจากนี้ท่านยังได้ชื่อว่ามีความกตัญญูเป็นเลิศ เลี้ยงดูบิดามารดาจนสิ้นอายุขัย ที่วัดศิษย์สายหลวงพ่อคง ท่านก็ว่าหลวงพ่อรักษ์ เก่งเอาการ วัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์เรื่องป้องกันภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์สูงมาก ประเภทรถคว่ำพังยับแต่คนที่แขวนพระของท่านไม่เป็นอะไร ที่ว่าประสบการณ์ด้านนี้มีเยอะก็เพราะว่าแถบแม่กลองจะมีการขนส่งผลไม้ ของทะเล ฯลฯ

    หลวงพ่อรักษ์ท่านมีสมณศักดิ์ที่พระครูสุธรรมธาดา ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ทำการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรทั้งใกล้ไกลนับไม่ถ้วน เป็นที่เคารพรักเทิดทูนบูชาของลูกศิษย์โดยเฉพาะชาวจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดใกล้เคียง รวมไปถึงจังหวัดปทุมธานี ที่องค์อาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทพระเวทย์วิทยาคมให้แก่หลวงพ่อรักษ์ คือ หลวงพ่อช้างวัดเขียนเขต หลังจากได้รับการประสิทธิ์ประสาทวิชาจากหลวงพ่อช้างอย่างหมดสิ้น ปี ๒๔๙๔ ท่านก็ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดน้อยแสงจันทร์ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม และท่ายังได้ศึกษาพระเวทย์อาคมกับท่านพ่อบัณฑูรย์สิงห์ ฆารวาสผู้กระเดื่องนามที่มีเกจิอาจารย์ยุคเก่าเป็นลูกศิษย์ของท่านมากมาย

    หลวงพ่อรักษ์แห่งวัดน้อยแสงจันทร์องค์นี้จัดเป็นเกจิขลังอาจารย์ดังผู้มี “ดี” อย่างแท้จริง ท่านจะปลุกเสกวัตถุมงคลทุกรุ่นด้วยตัวท่านเองเพียงลำพัง ไม่มีการจัดพิธีพุทธาภิเษกแต่อย่างใด แม้ท่านจะจากไปในปี ๒๕๓๘ ด้วยวัย ๘๖ ปี แต่ลูกศิษย์ลูกหาของท่านยังเหนียวแน่น ในจำนวนวัตถุมงคลของท่านหลายรุ่นหลายแบบทั้งเนื้อผง รูปหล่อ และเหรียญ หลายรุ่นหลายวาระ ตั้งแต่เหรียญรุ่นแรก ปี ๒๕๐๖ ด้านหลังเป็นพระพุทธชินราชเนื้ออัลปาก้า อันเป็นที่นิยมและแสวงหาด้วยสูงประสบการณ์อย่างครบถ้วนทั้งแคล้วคลาดคงกระพัน
    ว่ากันว่าถ้าท่านไม่เก่งจริงจะไม่สร้างพระเครื่องที่เป็นครุฑแบกท่านได้ครับ

    บูชา 800 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5101.png
      IMG_5101.png
      ขนาดไฟล์:
      959.2 KB
      เปิดดู:
      1

แชร์หน้านี้

Loading...