๑๗๗. เรื่องที่ตรัสบอกคืออะไร ? "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรื่องอะไรเล่าที่เราบอก ? เราบอกว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. เหตุไรเล่า เราจึงบอกเรื่องนี้ ? ก็เพราะว่า เรื่องนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ ความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน เราจึงบอกเพราะเหตุนั้น. เพราะเหตุนั้นแล จึงควรกระทำความเพียร (เพื่อรู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง) ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์." สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๕๔๘
๑๒๖. ไตรลักษณ์มีอยู่แล้วโดยปกติ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุ, ความตั้งอยู่แห่งธรรม, ทำนองแห่งธรรมอันนั้น ก็ตั้งอยู่แล้ว คือข้อที่ว่า สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง)ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ (ทนอยู่ไม่ได้) ธรรม (ทั้งสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง และไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ตถาคตตรัสรู้เข้าใจทำนองธรรมนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว เข้าใจชัดแล้ว ก็บอก, แสดง, บัญญัติ, ตั้งไว้, เปิดเผย, แจกแจง, ทำให้ง่ายถึงข้อที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน." ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๓๖๘
อานิสงส์ 10 ข้อของการไม่กินเนื้อสัตว์ 1.เป็นที่รักของบรรดาเทพ พรหม ตลอดจนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย 2.จิตอันเป็นมหาเมตตาย่อมบังเกิดขึ้น 3.สามารถตัดขาดความอาฆาต ดับอารมณ์เหี้ยมโหดเครียดแค้นในใจลงได้ 4.ปราศจากโรคภัยร้ายแรงมาเบียดเบียนร่างกาย 5.มีอายุมั่นขวัญยืน 6.ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากเทพทั้งปวง 7.ยามหลับนิมิตเห็นแต่สิ่งที่ดีงามเป็นสิริมงคล 8.ย่อมระงับการจองเวร สลายความอาฆาตแค้นซึ่งกันและกัน 9.สามารถดำรงอยู่ในกระแสพระนิพพาน ไม่พลัดหลงตกลงสูอบายภูมิ 10.ทันทีที่ละสังขารจากโลกนี้ จิตจะมุ่งสู่สุคติภพ
[IMG] อันความรัก มีมากมาย หลายสถาน แบบอาจหาญ คือรักชาติ ศาสนา แบบเคารพ คือพ่อแม่ และคูบา แบบยอดขวัญ กัลยา คือหวานใจ แบบนับถือ คือรัก แบบพี่น้อง แบบต้องง้อ ขอร้อง นั้นไม่ไหว ทุกแบบนั้น สำคัญที่ ต้องมีใจ จะแบบไหน ก็ดูดี ที่รักเป็น แต่ทว่า ไม่มีใคร มาให้รัก ต้องรู้จัก รักตัวเรา ให้เขาเห็น อย่าให้ใคร มองว่าเรา เศร้าลำเค็ญ แม้ยากเย็น ให้ทนสู้ รู้รักตัว (เอง)
ความรักนี้ย่อมเกิดด้วยเหตุสองประการ คือได้เป็นมารดาบิดา ธิดาบุตร พี่น้องชายพี่น้องหญิง สามีภรรยา หรือสหายมิตรกันในภพก่อน เคยอยู่ร่วมที่เคียงกันมา ความรักนั้นย่อมไม่ละ คงติดตามไปแม้ในภพอื่น เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อนอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะความเกื้อกูลกันในปัจจุบันอันได้ทำในอัตภาพนี้. ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสองประการฉะนี้ เปรียบเหมือนอุบลในน้ำฉะนั้น คือเหมือนอุบลและบุปผชาติที่เกิดในน้ำต่างๆ เกิดในน้ำ ก็ได้อาศัยเหตุสองอย่าง คือน้ำและเปือกตมฉันใด ความรักก็ย่อมเกิดด้วยเหตุสองประการนี้ฉะนั้น. อรรถกถา สาเกตชาดก ว่าด้วย เหตุให้เกิดความรัก
สวัสดีค่ะ คุณpinit หญิงมีงานบุญเล็กๆ มาฝากให้อนุโมทนาบุญร่วมกัน อยู่ในทู้บึงลับแล ห้องหลวงพี่เล็ก หน้าที่ ๒๒ คคห.ที่ ๔๒๗ ค่ะ