แต่อันนี้ อธิบายเข้าใจง่ายดี จิตคือธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์♥ จิตคือธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น ไม่มีอะไรที่นอกเหนือไปจาก "จิต" กับ "อารมณ์" สองอย่างนี้เท่านั้น จิต คือ ผู้รู้อารมณ์ คือ ธาตุรู้ คือ วิญญาณธาตุ (ไม่ใช่วิญญาณขันธ์) อารมณ์ คือ สิ่งที่ถูกจิตรู้ เกิดจากธาตุ ๔ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์ แบ่งเป็น ๒ ชั้น -อารมณ์ชั้นนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส -อารมณ์ชั้นใน คือ ธัมมารมณ์ จิต เข้ามาอาศัยใน รูปร่างกาย (รูปขันธ์) รูปขันธ์ มีช่องทางรับอารมณ์ ๕ ช่อง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รับอารมณ์ชั้นนอก (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส) เป็นคู่เรียงตามลำดับ ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ขึ้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และเกิดอารมณ์ชั้นใน (ธัมมารมณ์) จากอดีตอารมณ์ คือ สัญญา ความจำได้หมายรู้ ซึ่งก็ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เช่นกัน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเกิดขึ้นที่จิตตลอดเวลาทีละอารมณ์ ตลอดชีวิต เวทนาขันธ์ พอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ ต่ออารมณ์ สัญญาขันธ์ จดจำอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สังขารขันธ์ นึกคิดถึงอารมณ์ คิดดี คิดไม่ดี คิดไม่ใช่ดีไม่ใช่ชั่ว วิญญาณขันธ์ การรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิญญาณขันธ์ แบ่งเป็น ๖ ชนิด ตามช่องทางที่อารมณ์เข้ามา คือ วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย วิญญาณทางใจ วิญญาณขันธ์ แบ่งเป็น ๒ ชนิด อาศัยกับไม่อาศัยทวารทั้ง ๕ คือ -สสังขาริกวิญญาณ การรับรู้อารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส) ของจิต โดยอาศัยทวารทั้ง ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ได้แก่ วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย -อสังขาริกวิญญาณ การรับรู้อารมณ์ (ธัมมารมณ์) ของจิต โดยมิต้องอาศัยทวารทั้ง ๕ (ใจ) ได้แก่ วิญญาณทางใจ สรุปลงเป็น ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ๑ (รูป) นามขันธ์ ๔ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หรือเรียกว่า อารมณ์ และ อาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน เหตุเพราะจิตมีธรรมชาติตกไปในอารมณ์ และปรุงแต่งไปตามอารมณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิด ขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิต เกิดๆ ดับๆ ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดชีวิต พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างต่อเนื่อง( สติปัฏฐาน ๔) อารมณ์ใดๆ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์) ก็จะไม่สามารถแทรกเข้ามาที่จิตได้ เมื่ออารมณ์แทรกเข้ามาไม่ได้ ก็ไม่เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ตามมา จิตก็อยู่ส่วนจิต อารมณ์ก็อยู่ส่วนอารมณ์ ถึงอารมณ์ใดๆ จะไม่เที่ยง จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป อารมณ์นั้นก็สักแต่เป็นอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ของจิตดวงนี้ของผู้ปฏิบัติ ยินดีในธรรมทุกๆท่านครับ
จะว่าอย่างนั้นก็ได้ .......... หลักหลักก็คือ การละทุกข์สมุทัย(กิลสตัณหา)บางทีเราอาจจะมองผิดจุดให้ความสำคัญผิดจุดไปนะครับ...กิเลสตัณหา นันทิ ราคะ นี้แหละ ที่ต้องมอง
อ่านแล้วดูดี เนาะ แต่จริงๆ เป็น วาทะของพวก กบฏศาสนา พวกประกาศ วิภพ เป็นอุบายนำออกจาก ภพ ประกาศจิตเที่ยง หรือ นิพพานพรหมดีๆนี่เอง
วิญญาณ ในพุทธศาสนา ท่านหมาย ลักษณะเดียวกัน คือ ธรรมชาติรู้ วิญญาณขันธ์ จำแนกโดยความเป็นขันธ์ วิญญาณธาตุ จำแนกโดยความเป็นธาตุ จิตไม่สามารถเลือกเข้า เลือกออก อาศัยรูปได้ หากแต่ว่า เป็นปัจจัยให้รูปเกิด เมื่อรูปเกิด นามย่อมเกิด เมื่อนามเกิด รูปย่อมเกิด เคยได้ยินมีกรรมเป็นแดนเกิดไหม คำว่าอาการจิต ไม่มีในพุทธศาสนา แต่ฟังดูแล้วเข้าทาง เจตสิกปรุงแต่ง พึงทราบว่า เจตสิกก็เป็นขันธ์ เหมือนกัน คือ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ แบ่งแยกตามกิจ หน้าที่เด่นๆ แต่ยังสามารถย่อยลงได้อีก เหมือนวิญญาณขันธ์ แยกย่อย เป็นธาตุ เป็นอินทรีย์ ขึ้นอยู่กับลักษณะที่สติระลึกได้ มาถึงตรงนี้ พูดถึงอาการจิตเป็นสมาธิแล้ว ถูกไหม สังเกตุเอาสิ เดี๋ยวรู้ เดี๋ยวไม่รู้ เดี๋ยวไปรู้เรื่องอื่นอีก พึงทราบว่า อาการรู้ คือ มันก็คือลักษณะอาการที่รู้ รู้เสียง ก็คือ ได้ยินเสียงจริงๆ เพราะเสียงกระทบตรงประสาทหู เกิดวิญญาณขึ้นมาแล้วดับไป ส่วนที่หมายมั่นเสียงที่ได้ยินเป็นเสียงนก เสียงรถ เป็นกิจของ สัญญา สังขารแล้ว มันลงมโนทวาร ไปหมายรู้กันที่มโนทวารตามกิเลส อุปทานที่ยึดกัน ทีนี่ เมื่อสมาธิตั้งมั่นแช่อยู่ที่มโนทวาร เหมือนไม่เกิดไม่ดับ แต่ไปเข้าใจว่า ความรู้สึกมันดับ หรืออาการจิตที่มันเกิดดับตามที่คุณเข้าใจนั้น ขณะนั้นเกิดเจตสิกใหม่ขึ้นมาปรุงพร้อมกับจิตอยู่ แต่ไม่รู้กันเอง เพราะที่ผ่านมาเหมือนดูมันเฉยๆ จนมันแยกออกดื้อๆ ประหนึ่งพบจิตรู้แล้ว โดยไม่มีการพิจารณาสภาพธรรมใดๆที่กำลังปรากฏอยู่ แล้วกลับมานั่งขบคิดเอาทีหลัง หลังจากสภาวะธรรมเหล่านั้นทีหลัง หรือหลังจากคายสมาธิแล้ว ตอบว่า มาถึงตรงนี้ถือว่าเก่ง แต่ทิฏฐิมันเกิดแน่ มานะมันเกิดแน่ มันแตกไปตามลักธิครูทั้ง ๖ เพราะถ้าเห็นผิด ย่อมพิจารณาผิด ผลคือเข้าใจผิด ก็ธรรมชาติ ที่เฉย เหมือนจะเป็นอัพยากตา หรืออุเปกขาในภาวะนั้นนั้น แต่มันเฉยแบบรู้เหมือนกัน รู้ว่าไม่รู้อะไร ไม่ใช่ไม่รับรู้อะไรเลยนั้น เป็นธรรมชาติของโมหะ ที่ปกปิกทุกขสัจ โมหะเขาก็รู้ปรมัตถ์ได้ แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ต่างจากปัญญาที่รู้ปรมัตถ์ และรู้จักวางธรรมนั้นๆ ด้วยประจักษ์ความไม่ใช่เรา ของเราอย่างแท้จริง งงมั๊ย ^^ ถ้าเรื่องอภิธรรม วิถีจิต มูลจิต ว่ามันเป็นปัจจัยเกิดดับอย่างไร คงต้องปรึกษาอาแปะครับ
อาจารย์ท่านนี้ เขา ประกาศ ตรงๆ เลย ว่า จิตเป็นอัตตา ในเวบเขาน่ะครับ แต่เรื่องนี้ ที่ผมไปก๊อปปี้เขามา เพราะเห็นว่า อ่านเข้าใจง่ายดี หลายท่านที่โพสต์ในเวบนี้ ผมก็เห็นว่า ท่านถือว่าจิตเป็นอัตตา คืออยู่อมตะ แต่ผมก็อ่านนะ ตรงที่ผมเห็นว่าได้ความรู้ดี
จิตเที่ยงหรือไม่พูดไปก็ไม่จบ บอกได้อย่างเดียวว่า ไม่มีอะัไรศูนย์ มีแต่เปลี่ยนแปลง จากอย่างหนึ่งเ๋ป็นอย่างหนึ่ง ส่วนจิตนั้นถึงเวลาหนึ่งก็ไม่เรียกว่าจิต ไม่รู้เรียกว่าอะไร
รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ วิญญาณเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ก็อ่านเอาความรู้ก็ได้ครับ ส่วน เห็นจิตเป็นอัตตา อันนี้ พระพุทธองค์ก็บอกว่า วิธีจัดการกับ ทิฏฐิ ที่เห็น จิตเป็นอัตตา ก็คือ อย่าเข้าไปในส่วนสุด เห็นก็ได้ว่าจิตเป็นอัตตา แต่ ไม่สรุปฟันธง ....... แล้ว มันจะกลายเป็นเพียง ทิฏฐิ ที่ถูกเรา ระลึกรู้ พิจารณาอยู่ให้ห่าง ออกจาก "สิ่งที่บริสุทธิ" ได้ ลองพิจารณามุมของใจดู ว่าสอดคล้องกับ การไม่ยึดมั่นถือมั่นไหม สอดคล้องกับการสิ้นตัณหาไหม สอดคล้องกับ คำว่า "ถึงพร้อมทิฏฐิ" ไหม
อาจารย์ท่านนี้ ท่านก็อายุ ประมาณ 70+ แล้วล่ะครับ แกใสรูปมาให้ดูด้วย ยังอุตส่าห์มาทำเวบให้ความรู้เด็กๆ เป็นผมนอนพึ่งพุงรอ วันตาย ไปนิพพานพรหมแล้วล่ะครับ 55
มั่นใจขึ้นมาหละซี่ เพราะไป ค้นคว้าเพิ่ม ก็พบว่า วิญญาณธาตุ ที่70+ หมายมั่นปั้นเท้า(ปั้นเท้าจริงๆนะ พวกเนี่ยะ)ว่า ใช้ลบอภิธรรมปิฏกได้ กลับไม่ใช่ที่สุด กลับยังไม่ใช่ จิต พอหาจิตยังไม่เจอ หาใจไม่เจอ ก็ไม่ต้องไปพูดถึงว่า พวกนั้นจะรู้จัก นิพพาน เพราะ นิพพานนี่ จะต้องทำลายจิตอีกรอบเสียด้วย หรือแม้แต่ สายหลวงพ่อฤาษีลิงดำนี่ก็เถอะ บอกให้เกาะนิพพาน เกาะนิพพาน แต่เวลาจะเคลื่อนจากภพมนุษย์ ท่านจะเตือนกันตลอดนะว่า นิพพานก็ต้องปล่อย ไม่ปล่อยก็ถือว่า ไม่รู้เรื่องอุบายการสอนเลย เนี่ยะ ขนาดพวกสอน นิพพาน เป็นสรณะ ท่านยังหยอดการไม่เอานิพพานไว้ ด้วยเป็นอุบายธรรมในการสอน แล้วพวก70+นะ ไม่รู้เรื่องเลย เกาะ จิต แจเลย ทิ้งอารมณ์หมด หมดความ รู้สึก หมดกริยา หมดการแสวงหา หมดการเสวย งาบรูปขันธ์1ไว้( ไม่มีจิต) งาบรูปขันธ์1ไว้( ไม่มีจิต) สังเกตนะ ไม่มีจิตเหมือนกัน แต่อันนี้ นิพพานพรหม หรือ อสัญญีสัตตา
คุณเจ้าของกระทู้เลี้ยงหมูเหรอ เวลาเลี้ยงหมู ตาเรากระทบรูปสีชมพู จิตมันจะปักความยินดี หากเราปักจิต ฝึกจิต หรือ ปล่อยจิตให้ปักในสีชมพูบ่อยๆ เราจะเหมือน หมูที่ตกหล่มลุก ไม่ขึ้น จะลุกก็ลื่นตกลงไปอีก ดังนั้น ดูสีชมพูแล้วดูความยินดี ยินร้ายไว้ด้วย หน่าคร้าบ
อันนี้ ยกมาอ้างอิง ในส่วนที่ว่า สายหลวงพ่อฤาษี แม้จะสอนให้ เกาะนิพพาน แต่ก็บอกให้ปล่อยนิพพานด้วย ไม่ใช่ไม่บอกให้ปล่อยนิพพาน
อัตตา จับ อัตตาได้ แต่อัตตา จับ อนัตตาไม่ได้ สวัสดีปีใหม่ JitJaiLoving You Too Much So Much Very Much
ส่วนผมไม่เคยเห็นอะไรเที่ยงสักอย่างเดียวและรู้ทั้งรู้ว่ามันไม่เที่ยงแต่กลับถวิลหาอยากได้อยากมีอยากถือครองมันอยู่อย่างนั้นไม่อยากให้มันสลายไป เรื่องจิตนั้นก็เช่นกัน แม้เราอยากจะถือครองอย่างไรว่ามันเป็นแบบนั้นมีแบบนั้นแต่ถึงที่สุดเราก็ไม่อาจบังคับบัญชามันได้จริงๆ แต่เท่าที่ทำได้ก็คือต้องรู้ว่ามันเป็นอย่างไรแบบไหนเพราะอะไร หรือเรียกว่ามีสติกับสิ่งที่กระทบกับจิตตลอดเวลา แต่ครั้นบอกว่าไม่มีมันเลยดูแล้วเหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้แต่ถ้าบอกว่ารู้ว่ามีแต่ไม่ใส่ใจทำได้เพียงรู้ว่ามันเป็นอะไรผมพอจะทำได้ ที่คิดว่าจิตไม่ได้เที่ยงเพราะว่าปัจจัยที่เป็นเหตุที่ตั้งแห่งจิตมันยังไม่เที่ยง หากเมื่อปัจจัยอันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งจิตมันเที่ยงจิตนั้นก็จะเที่ยงทันทีแต่ก็ถึงตรงนั้นแล้วก็ไม่น่าจะต้องสนว่าเหตุใดเที่ยงและเหตุใดไม่เที่ยงอีกแล้ว เพราะไม่เหลือเหตุปัจจัยให้พิจารณาเรื่องเหล่านั้นอีกแล้ว ที่ยังสงสัยอยู่เพราะต้องการค้นหาอยู่นั่นเอง
ม่ายช่ายๆ ต้องอย่าลืมนะว่า การตามเห็นความไม่เที่ยง มันเป็นเครื่องมือ มันเป็นอุบายฝึกจิต มันไม่ใช่ข้อสรุป แล้วหากว่า เราเกิดการเห็นความไม่เที่ยง แล้ว แต่ปรากฏว่า นิพพทา ไม่เกิด อันนี้แปลว่า ตอนไปเห็นว่า มันไม่เที่ยง ยังแอบดีใจ ที่ตามเห็นได้ว่ามันไม่เที่ยง ผู้รู้ จะต้องกำหนดอยูที่รู้ อย่าดีใจที่ จิตไปเห็นความไม่เที่ยงเด็ดขาด ต้องปล่อย แม้การเห็นญาณ การเห็นความไม่เที่ยง ขณะนั้นด้วย แล้ว นิพพาทา จะปรากฏ ให้ทราบ ให้ตามเห็นความไม่เที่ยง แล้ว สละอีก ถ้าเห็น นิพพินทาแล้วไปยินดีกับการเห็น ลืมกำหนดรู้(ดูความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ) ก็จะไม่เกิด คลายกำหนัด แม้ความคลายกำหนัดปรากฏก็ต้องตามเห็นความไม่เที่ยง และสละญาณการเห็นนั้นให้ไวอีก ถึงจะเกิด ปิติโพชฌงค์กับเขาสักทีหนึ่ง เริ่มนับหนึ่งวิปัสสนาญาณ คือ หมุนได้1รอบ หากมีการยินดีในการปรากฏของญาณตัวใด มันผลิกไปเป็น สัมมสนญาณ หมด ( มันไม่สุดกระแส เรียกว่า ขาดจิตตั้งมั่น หรือ ขาดสัมมาสมาธิ ) พระป่าเรียกว่า ติดเงาของจิต หรือ ติดสัญญาหมด เป็น สัญญาหมดเลย กิเลส เอาไปกิน ลองดูแล้วจะพบว่า มันส์ !!! ยากไหม ยากสสส์ แต่ ง่ายไหม ง่าย เพราะไม่ ต้องทำอะไร กำหนดอยู่ทีรู้เป็นพอ รู้ลูกเดียว รู้เฉยๆ นี่แหละ
ก็สายนั้นเขาเป็นเมือง เป็นเรื่องเป็นราวไม่ใช่หรอ หรือ ว่าตกข่าวหว่า ขอนอกเรื่องนะ ^^ งงศัพท์ สมัยใหม่ คำว่า ติดเงาของจิต น้าเอกว่า สติสัมปัชญะ ระลึกได้ กับ สัญญาคิดได้ นึกได้ จำได้ ต่างกันอย่างไร แล้ว ระลึกผิด เห็นผิด เห็นวิปริต จะเรียกว่า สติสัมปัชญะได้ไหม มีธรรมที่พุทธองค์ชี้ รูปเที่ยงไหม เวทนาเที่ยงไหม....... ผู้ฟังตอบว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า..... ประโยคนี้ เรียกว่าสติดีหรือสัญญาดี อาการที่ถูกชี้ แล้วเข้าใจขึ้นมา มันขนลุก สว่างโพร่ง ตัวเบา โล่ง มีอยู่หรือ ส่วนคำว่า ติดสัญญา หมายถึงทิฏฐิ ยึดมั่นถือมั่น สำคัญในรูปนามรึเปล่า ถ้าใช่ก็อย่างเขาว่า กิเลสรับประทานอยู่ ต้องดูว่าขณะนั้นรู้ปัจจุบันจริงๆ หรือ ไปรู้เรื่องราวในปัจจุบันที่ถูกปรุงอยู่จริงๆ คำว่า รู้ลูกเดียว ไม่ค่อยเข้าใจความหมาย ถ้ารู้แล้วเข้าใจ ไม่มีการปรุงแต่ หรือ หลงสัญญา นึกคิดเอาเอง สัมมาสังกัปปะเกิด อาจจะถูกก็ได้ แต่รู้เฉยๆ ไม่มีการปรุงแต่ หรือ หลงสัญญา นึกคิดเอาเอง สัมมาสังกัปปะไม่เกิด อาจไม่ถูกก็ได้ ไม่รู้ว่าเข้าใจศัพท์ถูกตามที่จะสื่อป่าว ^^